แล้วต่อมาก็ได้ทำโปรแกรมด้วย COBOL อีก แต่เปลี่ยนเป็น IBM Mainframe สมัยนั้นระบบงานส่วนใหญ่มักจะใช้ COBOL ในการทำโปรแกรม เนื่องจากลักษณะของภาษาไม่ซับซ้อน ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก (แต่ต้องเขียนโปรแกรมให้อ่านง่ายด้วย)
มาคราวนี้ทันสมัยขึ้นมาอีก คือ เดิมที่ทำงานบน NEC ใช้ NEC-ISAM file แต่ตอนนี้ข้อมูลจะเก็บใน DB2 ซึ่งเป็น Database ของ IBM ซึ่งในยุคนั้นมักจะใช้ VSAM เป็นส่วนใหญ่ ได้เขียนโปรแกรมติดต่อกับฐานข้อมูลถือได้ว่าเป็นเรื่องน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
ระบบงานบน Mainframe ที่เป็น Online นั้นจะเรียกใช้ผ่าน CICS โดยในตอนนั้นถือเป็นโชคดีที่ได้รับถ่ายทอดเทคนิคในการเขียนโปรแกรมในลักษณะที่ไม่ hold resource เอาไว้ แต่ก็ต้องเพิ่มภาระในการจัดการ โดยจะต้อง write status ต่างๆ เก็บไว้ใน record จำไม่ได้ว่าน่าจะเป็น VSAM เพราะจะนำ field ต่างๆ ที่ต้องการมาต่อกันให้เรียบร้อยแล้วจึง write เก็บไว้ ก่อนที่จะจบการทำงาน และเมื่อโปรแกรมถูกเรียกให้ทำงานอีก ก็จะอ่าน record ว่ามี write ข้อมูลเก็บไว้หรือเปล่า ถ้าไม่มีก็แสดงว่าเพิ่งจะเริ่มการทำงาน แต่ถ้ามีข้อมูลอยู่ก็แสดงว่าเป็นการกลับเข้ามาทำงานต่อ ฟังดูแล้วออกจะงงอยู่บ้าง แต่เนื่องจากเวลาผ่านมาร่วม 10 ปีแล้วเลยจำรายละเอียดขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมไม่ค่อยได้ ทำให้อธิบายได้ไม่ละเอียดและแสดงตัวอย่างไม่ได้ แต่การใช้เทคนิคนี้ OS จะไม่เปลือง resource มาก เนื่องจากครั้งแรกที่โปรแกรมถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะมีการทิ้งหน้า screen ไว้แล้วจบการทำงานคืน resource ไป หลังจากนั้น เมื่อ user ป้อนค่าต่างๆ ลงบนจอภาพแล้วกด Enter หรือ Function key ที่กำหนดไว้ โปรแกรมก็จะถูกเรียกให้มาทำงานต่อ โดยนำค่าที่ได้จากจอภาพไปประมวลผลต่อ
ดูแล้วจะเหมือนงาน Batch ที่ส่ง screen มาทิ้งไว้ แล้วก็ sleep ไป และเมื่อ user input ค่าต่างๆแล้วก็จะถูกปลุกให้ตื่นมาทำงานต่อนั่นเอง วนซ้ำอยู่อย่างนี้จนกด key ที่กำหนดไว้ให้เป็นการเลิกการทำงานจึงเลิกการทำงานจริง ถ้าจำไม่ผิดความแตกต่างกันอยู่ตรงคำสั่ง EXIT กับ STOP RUN เป็นกุญแจสำคัญของเทคนิคนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น